กว่าจะถึงวันนี้ BUY.th ถือกำเนิดมาช่วงปี 2007 จากการจดโดเมนเนม BUY.in.th ซึ่งข้าพเจ้าได้เล่าเรื่องจุดเริ่มต้นของ BUY.th ไว้ในบทความ BUY.th : The Begin ซึ่งในบทความนี้ จะมาเล่าถึงวิธีคิด ที่ถูกปรับเปลี่ยน ตามสภาพการมาของเทคโนโลยี ที่ 20 กว่าปี ที่หนังสือเล่มแรกที่ผมเขียนเรื่อง “เปิดร้านบนอินเทอร์เน็ต ฉบับเถ้าแก่ทำเอง” ออกวางแผงในปี 2001 แนวคิดในแต่ละช่วงเวลาก็ปรับเปลี่ยนให้ก้าวข้าม ก้าวล้ำกว่าสิ่งที่มีอยู่ไปอย่างน้อยหนึ่งก้าว บนทรัพยากร และเทคโนโลยีที่พอมีในขณะนั้น
เริ่มจากความคิดที่อยากขายของออนไลน์
ข้าพเจ้าขอแบ่งช่วงเวลาในการตามฝันออกเป็นช่วงเวลาต่างๆ ดังนี้
ช่วงแรก ปีค.ศ. 1998, 1999 เว็บไซต์ เริ่มเข้ามามีบทบาทในธุรกิจ แม้จะเป็นจุดเริ่มต้น แต่ก็เป็นกระแสที่รุนแรง แต่ส่วนใหญ่ใหญ่จะนำเสนอเว็บเพียง information ของบริษัทนั้นๆ เพราะยุคนั้น มักจะเขียนเว็บไซต์แบบ Static Web ด้วย HTML เท่านั้น
แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่ง ที่เห็นความสามารถของอินเทอร์เน็ตก็เริ่มทำเว็บไซต์เพื่อนำเสนอขายสินค้า ในยุคนั้น ก็ทำการง่ายๆ ไม่ซับซ้อน คล้ายกับ Gallery สินค้า ออนไลน์ แต่ในช่วงเวลานั้นก็มี การเขียนแบบ Side Server Script อย่าง ASP เกิดขึ้น ให้เราสามารถเขียนเว็บไซต์ให้มี interactive ได้ เรียกว่า เป็นสวรรค์ของ ร้านค้าออนไลน์ได้เลย ซึ่งเป็นที่มาของหนังสือ “เปิดร้านบนอินเทอร์เน็ต ฉบับเถ้าแก่ทำเอง” ที่สอนตั้งแต่คิด จนปิดการขาย ในตัวร้านค้า ที่แถมไป ก็เขียนด้วย ASP เช่นกัน และในช่วงเวลานั้น ก็สามารถทดสอบบนเครื่องของตนเอง ได้ PWS (Personal Web Server) ที่สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของบริษัทไมโครซอฟท์
ซ่วงเวลานั้น (ปีค.ศ. 2000) ผมเช่า Hosting ขนาด 20 MB ในราคา 2500 บาท จดโดเมนที่ Domain Solutions ในราคา 35$ ต่อปี แต่ด้วย ช่วงเวลานั้น สายป่านเราสั้น และคนส่วนใหญ่ยังไม่นิยมซื้อของออนไลน์ ทำให้ร้านค้าออนไลน์ ของผมในขณะนั้นต้องปิดตัวไปในที่สุด แต่เราได้ทดสอบ และเรียนรู้ กับธุรกิจแนวนี้ แม้ร้านค้าออนไลน์จะปิดตัวไป แต่จิตใจกับมีไฟลุกโชน แรงกว่าเดิม เพราะเราเข้าใกล้ฝันไปอีกก้าว และในช่วงเวลานั้น เกิดฟองสบู่ Dot COM แตก (ปีค.ศ. 2003 – 2004) ยิ่งตอบย้ำการปิดตัวได้อย่างแนบสนิท T_T
ช่วงที่สอง ผ่านมา 7 – 8 ปี ราวๆ ปี ค.ศ. 2007 ธุรกิจ Dot COM เริ่มกลับมา และ THnic ได้เปิดตัวมาไม่นาน ทำให้ข้าพเจ้าได้จดโดเมนเมน BUY.in.th (BUY.co.th ในช่วงนั้นมีคนจดชื่อไปแล้ว) และโลกเข้าสู่ยุค WEB2.0 เว็บมีการโต้ตอบแบบ Two Way Communication ได้ เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่ากฏของมัวร์เสียอีก ความฝันที่ยังอยู่ในใจเมื่อได้ โดเมนเนม ที่สื่อถึงการขายของออนไลน์ กลับมาลุกโชนอีกครั้ง ในเวลานั้น ข้าพเจ้าไปไปลงหลักสูตร Technoprenuer (ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี) ของ NECTEC เป้าหมายก็เพื่อกลับมาเปิดร้านค้าออนไลน์อีกครั้ง ในช่วงเวลานั้นการได้เรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ของการเป็นผู้ประกอบการ ก็ทำให้ข้าพเจ้าลดความห้าวลงไปมาก ระมัดระวัง ตามหลักวิชา จนเวลาล่วงเลยไปกว่า 3 ปี ก็ยังไม่ได้ขึ้นร้านค้าออนไลน์ และในช่วงเวลานั้น ปี 2010 ข้าพเจ้า ก็สามารถจดชื่อโดเมนเนม BUY.co.th และเปิดหจก. บาย ออนไลน์ ขึ้นมา
ช่วงที่สาม ช่วงรอยต่อ ก่อนจดโดเมนเนม BUY.co.th ปีกว่าๆ ช่วงปี ค.ศ.2008-2009 ข้าพเจ้าก็ได้เริ่มรู้จักกับเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) และก็ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นออกมาหลากหลาย ร่วมทั้ง AR Book และ AR Card ช่วงเวลานั้นเขียน AR (Augmented Reality) เป็นหลักเลยก็ว่า ได้ แต่สิ่งที่พบเห็นในช่วงเวลานั้นคือ ถ้าเราทำ AR Application หนึ่งงาน ก็จะต้องสร้าง Application ขึ้นมา 1 App ยิ่งทำมาก Application ก็ยิ่งมากขึ้น จนในปี ค.ศ. 2017 ก็ได้เริ่มพัฒนา AR Platform ชื่อ ARZIO เพื่อให้ไม่ต้องมา Build AR App กันบ่อยๆ เมื่อทำออกมา View ดูแค่งาน 3D ก็จะดูเฉยๆ นานไปคงเบื่อ เลยต่อยอดจากฝันให้กลายเป็น AR Commerce Platform แต่ด้วยทรัพยากรบุคคลมีผมเพียงคนเดียว และเงินทุนอีกแค่หยิบมือ AR Commerce Platform จึงใช้เวลานาน และ นาน ก็ยังไม่สามารถ ออกเป็น Product ได้
ช่วงที่สี่ ราวๆปีค.ศ. 2020 เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) ก็ได้ออกมาโลดแล่น และเข้า Main Stream ก่อน AR (Augmented Reality) เสียอีก และปลายๆ ปี ทาง Facebook ก็ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น META เพื่อเข้าสู่ยุคโลกเสมือนจริง อย่าง Metaverse ในช่วงปลายปีค.ศ. 2021 – กลางปี ค.ศ.2022 คำว่า “METAVERSE” ดูจะเป็นคำที่ทรงอิทธิพลอย่างมาก เพราะหลายบริษัทฯ ประกาศว่าจะทำ Metaverse เช่นกัน และในช่วงเวลานั้น ข้าพเจ้าก็เริ่มมีทั้งทรัพยากรบุคคล และทรัพยากรอื่นๆ เพียงพอในการเริ่มต้น ที่จะสร้างฝันต่อ เพราะ แนวคิดในการสร้าง Metaverse ของข้าพเจ้าตั้งแต่แรก ไม่ใช่แนว DeFi ขายที่ดิน แต่เป็น Virtual Commerce Platform โดนนำแนวคิด Metaverse มารวมกับ E-Commerce เลยออกมาเป็น Metacommerce หรือ Virtual Commerce Platform นั้นเอง และในเดือนก.ย.2022 ข้าพเจ้าก็ได้จดโดเมนเนมชื่อ BUY.th เพื่อนำมาใช้กับ Virtual Commerce Platform นี้
และแนวคิดนี้ BUY.th : Virtual Commerce Platform จึงถูกพัฒนามาตั้งแต่ปลายปีค.ศ.2021 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลากว่า 2 ปี และคาดว่าจะเป็นตัว ได้ในช่วงต้น มกราคม 2024 นี้ ครับ